รู้ไว้ไม่เสียหาย!!ติดเชื้อในกระแสเลือดคืออะไร อันตรายแค่ไหน?

11:57 PM 0 Comments A+ a-


รู้ไว้ไม่เสียหาย!!ติดเชื้อในกระแสเลือดคืออะไร อันตรายแค่ไหน?




ความหมายของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด คืออะไร?
ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดขึ้นจากการที่มีเชื้อโรคเข้าสู่ภายในร่างกายทางใดทางหนึ่ง เชื้อโรควิ่งไปตามกระแสเลือด ก่อให้เกิดอาการอักเสบ ติดเชื้อที่บริเวณส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั่วทั้งร่างกาย ปกติแล้ว เมื่อเช้าโรคเข้าสู่ร่างกาย จะมีเม็ดเลือดขาวคอยทำหน้าที่จับเชื้อโรคนั้นๆ ได้อยู่แล้ว แต่เมื่อใดที่ร่างกายอยู่ในภาวะอ่อนแอ ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ จึงเป็นเหตุให้เชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือดจนมีอาการติดเชื้อได้
ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด




> ความเจ็บป่วย ทำให้สุขภาพร่างกายอ่อนแอ ภูมิต้านทานต่ำ ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคตับแข็ง เนื่องจากตับจะเป็นตัวกรองเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย เมื่อตับไม่สามารถทำงานได้ เชื้อโรคจึงสามารถผ่านเข้าไปในกระแสเลือดได้ง่ายขึ้น ผู้ที่ถูกตัดม้ามก็มีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้ง่ายกว่าคนทั่วไปเช่นกัน
> การทำหัตถการต่างๆ เช่น การสวนทวาร หรือการเสียบสายสวนปัสสาวะ ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น สำหรับผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ ระบบภูมิคุ้มกันอาจไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคได้หมด จึงเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดขึ้น ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังเรื่องการใส่เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ เข้าไปในร่างกายให้มาก เช่น ถ้าจำเป็นต้องให้น้ำเกลือเข้าหลอดเลือดดำผ่านทางสายยาง ก็ไม่ควรเสียบเข็มคาหลอดเลือดดำไว้นานเกิน 3-4 วันต่อครั้ง
> สาเหตุอื่นๆ เช่น การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันในผู้เสพยาเสพติด ซึ่งนอกจากจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคผ่านทางเข็มฉีดยาแล้ว ในสารเสพติดยังมีเศษสิ่งสกปรกจำนวนมาก และอาจเกิดตะกอนหากละลายน้ำไม่ดี เมื่อตะกอนเหล่าเข้าสู่กระแสเลือด อาจไปบาดอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของหัวใจและปอด เกิดเป็นแผล และเมื่อมีเชื้อโรคไปจับที่แผลก็สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีประเด็นของการรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้ เพราะเชื้อโรคบางอย่างความสามารถสูง สามารถเจาะผ่านเยื่อบุลำไส้เข้าไปในกระแสเลือดได้

อาการติดเชื้อในกระแสเลือด
เมื่อเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด ร่างกายจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการติดเชื้อ เรียกว่า เป็นกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย (Systemic inflammatory response syndrome; SIRS) ยกตัวอย่าง เช่น
– มีไข้สูงเกิน 38.3 องศาเซลเซียส บางรายอาจมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย
– ชีพจรเต้นเร็วเกิน 90 ครั้งต่อนาทีในผู้ใหญ่
– หายใจเร็วเกิน 24 ครั้งต่อนาที ในผู้ใหญ่
– เม็ดเลือดขาวเพิ่มจำนวนมากขึ้น
  นอกจากนั้นยังมีอาการจำเพาะที่ที่เกิดบริเวณอวัยวะที่ติดเชื้อ เช่น อาการปัสสาวะแสบขัด แสดงว่าอาจมีการติดเชื้อที่ระบบขับปัสสาวะ หรือมีอาการไอ เจ็บหน้าอก อาจหมายถึงการติดเชื้อที่ปอด เป็นต้น
การป้องกันอาการติดเชื้อในกระแสเลือด
1. รักษาสภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ อย่าป่วยบ่อย




2. ทานอาหารให้เป็นประโยชน์ ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
3. พักผ่อนให้เพียงพอ นอนวันละ 6-8 ชั่วโมง
4. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคเป็นครั้งคราว เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไวรัสตับอักเสบ
5. ตรวจร่างกายสม่ำเสมอทุกปี
6. ใครที่มีโรคประจำตัวต้องไปตามที่หมอนัด และทานยาอย่างเคร่งครัด

ขอบคุณที่มา > > Healthtoday